เปิดรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน (แผน ก.) สาขาอายุรศาสตร์ ในระบบของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ (matching program) ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2565 โดยสามารถกรอกใบสมัครด้วยตนเองผ่านทาง Website >>> https://tmc.or.th/tcgme/Students/PlanRegister/?p=0716d9708d321ffb6a00818614779e779925365c
และส่งเอกสารหลักฐานการสมัคร ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรานิกส์ ไปยังราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ผ่านทางอีเมล >> rcpt.residentmed2566@gmail.com ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2565
เกณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติ มีรายละเอียดเพิ่มเติมตามประกาศที่แนบมา.
1.กำหนดการและขั้นตอนการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน
2.ประกาศ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ เรื่องการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน
*สำหรับผู้สมัครโครงการ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันร่วมฝึกอบรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เลือก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
หมายเหตุ
1) สาขาประสาทวิทยา โลหิตวิทยา ตจวิทยา มะเร็งวิทยา และอายุรศาสตร์ต่อยอดอื่นๆ
ดำเนินการผ่านสมาคมวิชาชีพ (รายละเอียดตามประกาศ และผนวก ก. ท้ายประกาศ)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rcpt.org/index.php/trainningtesting/2012-09-21-03-19-31/898--2566.html
2) จนท.ประสานงานเรื่องการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน
สาขาอายุรศาสตร์
- น.ส.ผกา คณฑี 02-716-6744 ต่อ 13
สาขาอื่น และสาขาต่อยอด
- น.ส.สมถวิล ปัตทะมะ 02-716-6744 ต่อ 12
แนวทางการสมัครเข้ารับการอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์
*แนวทางนี้ใช้สำหรับการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์รพ.จุฬาลงกรณ์ และ โครงการร่วม รพ.จุฬาลงกรณ์- ม.นเรศวร
เกณฑ์การคัดเลือก
1. ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบของแพทยสภาและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ
2. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามประกาศของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
เรื่องคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับ พ.ศ.2559
https://www9.si.mahidol.ac.th/pdf/6Rh8Ee6Pu0Qf7Vq4De2S.pdf
พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์ของประเทศไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในแง่เศรษฐกิจสังคม การพัฒนาอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี และการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อโรคทางอายุรศาสตร์นอกจากนี้ประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียงยังมีบริบทของโรคและการรักษาที่แตกต่างจากประเทศอื่น จึงมีความจําเป็นในการทําวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้เกี่ยวกับโรค พัฒนาการดูรักษาและระบบสุขภาพให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศและภูมิภาค ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่สาธารณะทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ภาควิชาฯ จึงกําหนดพันธกิจของหลักสูตรไว้ดังต่อไปนี้
“ผลิตอายุรแพทย์ที่ 1) มีความรู้ความชํานาญในแขนงวิชาอายุรศาสตร์ทั่วไป สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกํากับดูแล
2) ปฏิบัติงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางด้วยความเป็นมืออาชีพและเอื้ออาทรต่อผู้ป่วย
3) มีความใฝ่รู้พร้อมสําหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถทํางานวิจัยทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักจริยธรรมการวิจัยทางการ
แพทย์ และ 4) มีความพร้อมในการก้าวออกไปสู่ระดับนานาชาติด้วยแผนการฝึกอบรมที่เน้นภาคปฏิบัติซึ่งบูรณาการเข้ากับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและงานบริการ โดยคํานึงถึงสวัสดิภาพและสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรม”
Update:
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565 / Viewed:
11176